แผนงาน บริหารงานวิชาการ
ชื่อโครงการ พัฒนาสื่อและเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
สนองกลยุทธ์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 6 การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
ประเด็นพิจารณาที่ 2 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.3 การวางแผนและการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ประเด็นพิจารณาที่ 3 การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวขนิษฐา จันทสุวรรรโณ
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ กลุ่มงานหลักสูตรและพัฒนากระบวนการ
หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาในปัจจุบันครูคือผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้และเป็นผู้ทำงานร่วมกับนักเรียนใน การแสวงหาและป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง ให้กับนักเรียน สื่อการเรียนรู้หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ครูนำมาใช้จัดกิจกรรม การเรียนรู้หากมีความหลากหลายทั้ง สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และ สื่ออื่น ๆ จะช่วยส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่าง มีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตามเข้าใจง่าย และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นฝ่ายวิชาการจึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูคิดค้น สร้างสรรค์สื่อการการเรียนรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เป็นการพัฒนาสื่อการการเรียนรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งเป็นการสนับสนุนครูในการสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการให้ก้าวหน้าเป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่อยู่รอบข้างอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดสร้าง จัดหา และพัฒนา นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้
2. เพื่อให้ครูและนักเรียนทุกคนใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
3. เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนแจ้งวิทยาให้มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้
4. เพื่อให้มีสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ และนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด
5. เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
6. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)
1.ร้อยละ 98 ของผู้เรียนสามารถใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพกับการเรียนรู้
2. ร้อยละ 98 ของผู้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มีความพึงพอใจในการใช้ระดับดี
3. ร้อยละ 91 ของนักเรียนมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา
4. ครูผู้สอนร้อยละ 91 ในกิจกรรมส่งเสริมการใช้สื่อ สามารถใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนได้เหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก
5. นักเรียนร้อยละ 87 ในกิจกรรมการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการเรียนรู้สามารถใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าหาความรู้ได้
6. นักเรียนร้อยละ 87 ที่ใช้ห้องสมุดมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่หลักสูตรกำหนดไม่ต่ำกว่าระดับดี
7. ผู้เรียนร้อยละ 90 ในกิจกรรมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสนใจใฝ่รู้ รักการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดี
ขั้นตอนการดำเนินการ
รายการ/กิจกรรม |
กลุ่มเป้าหมาย |
วัน/เดือน/ปี |
งบประมาณ |
ผู้รับผิดชอบ |
1. ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ |
นักเรียน |
8 พ.ค. 60- 28 ก.พ. 61 |
50,000 (งบเรียนฟรี 15 ปี) |
นางอรทัย |
2. ส่งเสริมการใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน |
นักเรียน |
8 พ.ค. 60- 28 ก.พ. 61 |
- |
นางสาววันวิสา |
3. พัฒนาและปรับปรุงศูนย์วิทยบริการเพื่อการเรียนรู้ |
นักเรียน |
8 พ.ค. 60- 28 ก.พ. 61 |
100,000 |
นางสาวขนิษฐา |
4. แหล่งเรียนรู้สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
นักเรียน |
8 พ.ค. 60- 28 ก.พ. 61 |
10,000 |
นางอุษา |
ระยะเวลาดำเนินการ 8 พฤษภาคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 160,000 บาท
หน่วยงาน / ผู้ที่เกี่ยวข้อง
1. สวนสัตว์สงขลา สถาบันทักษิณคดีศึกษา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ฯลฯ
ระดับความสำเร็จ
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ |
วิธีประเมิน |
เครื่องมือ |
1. ร้อยละของบุคลากรทางการศึกษาสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 2. ร้อยละมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา 3. ร้อยละมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา |
-สถิติการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ -ประเมินความพึงพอใจ
|
-แบบสอบถามความพึงพอใจ -แบบบันทึกสถิติการใช้บริการ |
การประเมินผล
สถิตินักเรียนเข้าใช้ห้องวิทยาศาสตร์และห้องสมุด และการประเมินความพึงพอใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
(นางสาวขนิษฐา จันทสุวรรณโณ)
หัวหน้าโครงการ
(พระครูสังฆรักษ์ญาณกร ญาณกโร.)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ผู้เสนอโครงการ
(นายธริศร เทียบปาน) (นายสมพงษ์ ช่วยเนียม)
ผู้อำนวยการโรงเรียนแจ้งวิทยา ผู้จัดการโรงเรียนแจ้งวิทยา
ผู้เห็นชอบโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ
(พระพิศาลสิกขกิจ)
ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนแจ้งวิทยา
ผู้อนุมัติโครงการ